ป้อมปราการที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ของ กำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร

แผนที่

ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ

  1. ป้อมพระสุเมรุ (ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์)
  2. ป้อมยุคุนธร (ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น)
  3. ป้อมมหาปราบ (ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ)
  4. ป้อมมหากาฬ (เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ)
  5. ป้อมหมู่ทลวง (ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมูทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย)
  6. ป้อมเสือทยาน (อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต [สะพานเหล็กบน] ตรงโรงแรมมิรามา)
  7. ป้อมมหาไชย (ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469)
  8. ป้อมจักรเพชร (ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า)
  9. ป้อมผีเสื้อ (ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด)
  10. ป้อมมหาฤกษ์ (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี)
  11. ป้อมมหายักษ์ (อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า)
  12. ป้อมพระจันทร์ (ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  13. ป้อมพระอาทิตย์ (ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม)
  14. ป้อมอิสินธร (ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม)

ใกล้เคียง

กำแพงเมืองจีน กำแพงเบอร์ลิน กำแพงฮาดริอานุส กำแพงเมืองเชียงใหม่ กำแพงหมากฝรั่ง กำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร กำแพงป้องกัน กำแพงเมืองโบราณคาโน กำแพงแอตแลนติก กำแพงแก้ว